การทำบัญชีบริษัท หลักการเบื้องต้นที่ธุรกิจองค์กรต้องศึกษา
การจัดตั้งบริษัทแห่งหนึ่งขึ้นมา การทำบัญชีนับว่ามีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากบัญชีจะช่วยให้การดำเนินการภายในองค์กรธุรกิจเป็นไปได้อย่างราบลื่น สามารถช่วยในระดับบุคลากรองค์กรเรื่องการบริหารจัดการภายในให้เป็นสัดส่วน ป้องกันการทุจริตภายในองค์กรได้เป็นอย่างดี และช่วยในระดับผู้จัดการไปจนถึงผู้บริหารให้สามารถวางวิสัยทัศน์ธุรกิจ เพื่อให้เกิดการสร้างแผนงานต้องการในอนาคตทั้งระยะใกล้และไกลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เรื่องต้องรู้บัญชีเบื้องต้น (Basic Accounting) สำหรับบริษัท
สำหรับบัญชีบริษัทควรรู้เรื่องการจัดทำบัญชีเบื้องต้น (Basic Accounting) ด้วยกันไม่กี่หัวข้อ ซึ่งเป็นเรื่องหลัก ๆ อันเป็นสาระสำคัญที่จะขาดไม่ได้ภายในธุรกิจองค์กร ดังนี้
- รู้จักความหมายเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องเอกสารบัญชี
- ระบบบัญชีเบื้องต้น สมุดรายวันซื้อ/ขาย การรับจ่ายทั่วไป
- การบันทึกบัญชีคู่และสมการบัญชี/ เดบิต/ เครดิต บัญชีรายวันแยกประเภท งบทดลอง งบการเงิน
- การบันทึกบัญชีสินค้า Perpetual/Periodic/การรจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ/บัญชีสินค้า
- ความหมายสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้ ต้นทุน ค่าใช้จ่ายในการขาย/บริหาร การคิดค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ของกิจการ
- การออกงบการเงิน และการอ่านงบการเงินเบื้องต้น
เพื่อให้สามารถเข้าใจถึงการออกงบการเงินของกิจการได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง งบกำไรขาดทุน งบแสดงฐานะการเงิน
- เรื่องภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
โดยเป็นภาษีที่บริษัทจะต้องรู้เพราะองค์กรจะต้องรับผิดชอบ ควรต้องรู้ตั้งแต่วิธีการหักภาษี แบบฟอร์มที่ถูกต้อง การคำนวณภาษีเบื้องต้น ความแตกต่างภงด.3, ภงด.53, ภงด.1,ภงด.1 ก การคำนวณเงินเดือนพนักงาน การหักประกันสังคมและวิธีการนำส่ง และวิธีการกรอก ภงด.1. ภงด.1 ก และวิธีการนำส่งภาษี การหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับ ม 40 (1),(2) ตลอดจนความรู้ด้านการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การคำนวณเงินเพิ่มกรณียื่นผิดและวิธีการยื่นเพิ่มเติมภาษีหัก ณ ที่จ่าย สรุปว่าภาษีหัก ณ ที่จ่ายจะเกี่ยวข้องในเรื่องการจ่ายเงินเดือนพนักงาน รวมทั้งการหักประกันสังคม การสรุปภาษีหัก ณ ที่จ่าย เพื่อการนำส่งสรรพากรนั้นเอง
- เรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล
โดยเป็นภาษีที่บริษัทจะต้องรู้อีกเช่นกันเพราะองค์กรเข้าใจเรื่องการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ทำความเข้าใจเรื่องการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะจะมีบางธุรกิจที่จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราศูนย์ รวมทั้งวิธีการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและแบบฟอร์มภาษีในการส่ง ใบกำกับภาษีที่สามารถใช้ในการภาษีซื้อนำมาหักภาษีได้ เข้าใจถึงการออกใบกำกับภาษีรูปแบบเต็ม และใบกำกับภาษีอย่างย่อ เบี้ยปรับเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม การเสียภาษีครึ่งปี วิธีการคำนวณและยื่นแบบ ภงด.51 ตลอดจนการทำรายงานภาษีซื้อ ขาย และกรอกแบบ ภพ.30 และรายจ่ายที่สรรพากรไม่ให้หักภาษี เรียกว่าเป็นรายจ่ายต้องห้าม โดยจะต้องมีวิธีการสคำนวณภาษีสิ้นปีและวิธีการยื่น ภงด.50 สรุปว่าภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องทำความเข้าใจการคำนวณภาษีเพื่อให้สามารถสรุปสิ้นปีได้ และต้องสามารถยื่นนำส่งสรรพากรได้ รวมทั้งต้องเข้าใจวิธีการออกใบกำกับภาษีที่ถูกต้องและรายการที่ไม่ต้องหักภาษีนั้นเอง